ในยุคนี้ที่เศรษฐกิจ รอบตัวเรา ถึงแม้ว่าจะซบเซาลง แต่ก็ไม่สามารถจะทำลายอัตราการจับจ่ายใช้สอย ของผู้คนออนไลน์ได้ และยิ่งด้วยสถานการณ์ของ COVID-19 ในปัจจุบันยิ่งส่งผลให้อัตราการใช้ออนไลน์มีมากยิ่งขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการสั่งของออนไลน์จากต่างประเทศ เราต้องดูรายระเอียดให้ชัดว่า ของเรานั้นต้องเตรียมอะไรไหม แล้วถ้าสินค้าเราติดที่กรมศุลกากร นั้นเป็นเหตุมาจากอะไร ซึ่งในทีนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 คือ แต่ละหีบห่อรวมราคาสินค้า, ค่าส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรือเป็นสินค้าตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า จะได้รับการยกเว้น แต่ต้องไม่เป็นของต้องห้ามหรือจำกัดในการนำเข้า จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสินค้าจะถูกส่งต่อไปให้กับไปรษณีย์ไทย เพื่อนำส่งต่อไป ยังผู้รับโดยตรง

ประเภทที่ 2 คือ ของที่มาจากผู้ส่งมาถึงผู้รับคนหนึ่งในคราวเดียวกันหรือมาพร้อมกัน ไม่ว่าสินค้าจะมีกี่หีบห่อ โดยของที่มูลค่าสินค้ารวมค่า ค่าขนส่ง และประกันภัย มีมูลค่าตั้งแต่ 1,500 บาท ไม่เกิน 40,000 บาท และต้องไม่เป็นของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือของที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์สินค้าก่อนปล่อย โดยของประเภทนี้จะเป็นของต้องชำระอากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจของต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ที่อยู่ของผู้รับ โดยผู้รับจะได้รับ ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ที่ระบุที่ทำการไปรษณีย์ให้ไปติดต่อรับของและทำการชำระอากร (ซึ่งถ้าเรามีข้อสงสัยต่อยอดชำระอากร ก็สามารถโต้แย้งการประเมินภาษีก็สามารถทำได้)

ประเภทที่ 3 คือของอื่น ๆ ที่อยู่นอกจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 โดยสินค้านี้จะถูกนำไปเก็บรักษาในโรงพักสินค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือส่งไปที่สำนักงานหรือด่านศุลกากร เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งของประเภทที่ 3 นี่เอง ที่จะโดนเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร กักสินค้า ก่อนตรวจปล่อย

ซึ่งเมื่อสินค้าของเรานั้นได้ติดที่ศุลกากร เราจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • ขอรับสิ่งของด้วยตัวเอง กรณีผู้มีชื่อรับของตามที่ระบุในใบแจ้งฯ

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ

บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับของเป็นชาวต่างชาติ)

  • ขอรับสินค้าโดยการมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับสิ่งของแทน

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีชื่อรับของบันทึกรายระเอียดการมอบอำนาจให้แก่ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองของทั้ง 2 ฝ่ายที่ด้านหลังใบแจ้งฯ

เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

  • กรณีผู้รับของเป็นนิติบุคคล

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามพร้อมประทับตราของบริษัทที่ด้านหลังของใบแจ้งฯ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ และลงนามรับรองสำเนา

สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างฯ ร้าน (ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน) และลงนามรับรอง สำเนาพร้อมประทับตราบริษัทฯ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

ทางเรามีบริการที่เคลียร์สินค้าให้โดยไม่ต้องเนทางมาดำเนินการเองครับ

การค้าผ่านแดน คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบ

การค้าผ่านแดน คือ การที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้การขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้า

การได้รับสิทธิผ่านดินแดน ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนดของประเทศนั้น ๆ

โดยมีตลาดการค้า เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่น่าสนใจ การขนส่งสินค้าทางบกผ่านแดนจะช่วยลดระยะทางการขนส่งสินค้า และช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง

และยังช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย

สอบถามปัญหาของการนำเข้าและส่งออกสินค้า สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

033-005974

Line : @gfreight

Email : [email protected]

https://www.goodfreight-th.com

เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาบริการตอบปัญหาต่างๆ

#airfreight#seafreight#transports#goodfreightthailand

#import#export

____________________________________________________________________________________