สวัสดีครับ เพื่อนๆ พวกเรา GOOD FREIGHT THAILAND วันนี้มีความรู้ดีๆมาฝากกันอีกแล้ว กับ เรื่อง FOB นั่นเอง !

F.O.B นั้นย่อกมาจากคำว่า Free on Board หรือ Freight On Board เป็นเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายสินค้าจะมีขอบเขตในการรับผิดชอบในการส่งมอบสินค้า ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นดูแลให้จนถึงท่าเรือต้นทาง ผู้ขายนั้นจะรับผิดชอบในการนำสินค้าไปส่งมอบที่ท่าเรือต้นทางสำหรับการส่งออกและเมื่อสินค้าขึ้นไปบนเรือแล้วกลับกันค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ นั้นก็จะเป็นหน้าที่การดูแลของทางผู้ซื้อ ตั้งแต่สินค้าอยู่บนเรือจันถึงปลายทาง

โดย Free On Board เป็นหนึ่งใน 11 เงื่อนไข Incoterm 2020 ที่ถูกหนดขึ้นมาโดยภาหอการค้านานาชาติ หรือ International Chamber of Commerce หรือ ICC ที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย ขอบเขตประกอบไปด้วย

•ความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า

•จุดส่งมอบและจุดรับสินค้า

•ความรับผิดชอบหากสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

เงื่อนไข FOB ของผู้ส่งออก

ความรับผิดชอบความเสี่ยงของผู้ส่งออกหรือผู้ขายนั้นจะเริ่มตั้งแต่จัดเตรียมสินค้าไปจนถึงการส่งสินค้า และการยกสินค้าขึ้นไปวางบนเรือ ณ ท่าเรือประเทศของผู้ส่งออก โดย ตามเงื่อนไข Incoterms แบบ FOB Tearm ได้แก่

•การแพ๊คสินค้าบรรจุ

•ใบกำกับสินค้า

•การขนย้ายสินค้า

•การขนส่งไปยังท่าเรือต้นทาง

•การที่สินค้าเกิดความเสียหาย

•กำดำเนินการพิธีศุลกากรขาออก

•ค่าภาษีอากร

•และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องชำระเมื่อมีการส่งออก

เงื่อนไข FOB ของผู้นำเข้าสินค้า

ความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงและภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้นำเข้าสินค้าตามเงื่อนไข FOB จะเริ่มต้นเมื่อสินค้าถูกวางบนเรือเรียบร้อยแล้ว โดย ตามเงื่อนไข Incoterm แบบ FOB Term ได้แก่

•ค่าขนส่งทางทะเล

•ค่าธรรมเนียมใบตราส่งสินค้า

•ค่าประกันภัยสินค้าทางทะเล

•ค่าดำเนินการพิธีการศุลกากรขาเข้า

•ค่าภาษีอากร

•การจัดหาใบอนุญาตินำเข้า

•ค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายและค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปสถานที่ปลายทางสุดท้าย

•ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากภาระของผู้ขาย

FOB มีการแบ่งหน้าที่และการรับผิดชอบที่ชัดเจน ทำให้เกิดความสะดวกต่อทั้ง 2 ฝ่าย และสามารถดูแลในส่วนของตัวเองได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดส่งสูงและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ซื้อในฝั่งอเมริกาที่นำเข้าสินค้าจากไทยเข้าสู่อเมริกา อาจจะไม่เข้าในกฎหมายการส่งออกของไทย ไม่เชี่ยวชาญการขนส่งภายในประเทศไทยเท่ากับผู้ส่งออกที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนผู้ส่งออกในฝั่งไทยก็อาจจะไม่เข้าใจระบบ Logistic ของอเมริกาเท่ากับผู้ซื้อที่อยู่ในฝั่งอเมริกาอยู่แล้ว จึงไม่แปลกที่ FOB จะได้รับความนิยมสูงมากเพราะช่วยให้ทั้ง 2 ฝั่งได้ดูแลส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องมากที่สุด

กรณีที่ท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสอบถามปัญหาของการนำเข้าและส่งออกสินค้า สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

Tel: 033-005974

Line : @gfreight

Email : [email protected]

https://www.goodfreight-th.com

#airfreight#seafreight#transports#goodfreightthailand