เมื่อคุณเป็นมือใหม่ต้องการจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการนำเข้า แนะนำให้สั่งซื้อสินค้าโดยขอให้ผู้ขาย เสนอขายในราคาเทอม CIF BANGKOK (ให้ผู้ขายต้นทางจ่ายค่าเฟรทและค่าประกันภัยโดยรวมอยู่ในราคาสินค้าแล้ว ) ผู้ขายในต่างประเทศจะเป็นผู้หาสายเรือและนำสินค้าบรรทุกลงเรือหรือเครื่องบิน จากประเทศผู้ขายส่งมาถึงที่ท่าเรือเช่น ท่าเรือคลองเตย หรือ สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อสินค้าของคุณมาถึงไทย จะมีค่าใช้จ่ายเพื่อนำสินค้าออกจากท่าเรือ ดังนี้

-ถ้าเริ่มนำเข้าครั้งแรกต้องไปขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า-ส่งออกในระบบ PAPERLESS ของศุลกากรก่อน

-สินค้าของคุณเป็น ของต้องห้าม หรื่อ ของต้องกำกัด การนำเข้าหรือไม่ ถ้าเป็นของต้องกำกัด ต้องดำเนินการขออนุญาตให้เสร็จก่อนสินค้ามาถึงไทย

ถ้าสินค้าของคุณไม่เป็น ของต้องห้าม ต้องกำกัด จะมีค่าใช้จ่าย ประมาณนี้

1.ค่าภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทั่วๆไปหรือสินค้า พวกวัตถุดิบธรรมดา

1.1 วิธีคิดภาษีนำเข้าส่วนใหญ่คือ (ราคานำเข้าตาม INVOICE x อัตราแลกเปลียน) x อัตราภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %

1.2 ถ้าสินค้าของคุณได้รับส่วนลดเช่น BOI, FZ, EPZ, คลังทัณฑ์บน, FORM A, E, D ส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีนำเข้า)

2.ค่ารับ D/O คือ ค่าดำเนินการ นำตู้สินค้ามาลงไว้ที่ท่าเรือ, ค่านำสินค้าเข้าโกดังพักสินค้าและออกเอกสารรับรองว่าคุณเป็นผู้ที่มีสิทธิ์รับสินค้าได้ ของบริษัทตัวแทนเรือ หรือ สายการบิน

2.1 ทางเรือ

2.1.1 ตู้20ฟุต (ตู้สั้น) ประมาณ 4,000 -6,000บาทขึ้นไปเป็นอย่างน้อย

2.1.2 ตู้40ฟุต (ตู้ยาว) ประมาณ 5,000-7,000บาท ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย

2.1.3 LCL (ไม่เต็มตู้) เริ่มต้นจำนวนสินค้า 1 CBM จะอยู่ประมาณ 4,500 – 7,000 บาท ส่วนที่เกิน ประมาณ CBM ละประมาณ 1,500 บาท แต่ละบริษัทไม่เท่ากัน ราคาอยู่ที่การต่อรองกันเอง)

2.2 ทางอากาศ มีค่ารับ D/O ประมาณ 300-1,000 บาท ขึ้นไป (แต่ละบริษัทไม่เท่ากัน)

3.ค่าภาระท่าเรือ สินค้าอยู่ในท่าเรือจะมีค่าธรรมเนียมและภาระท่าเรือเกิดขึ้น

3.1 ค่าธรรมเนียม, ค่าเก็บรักษาสินค้าของการท่าเรือ เช่นท่าเรือคลองเตย FCL, LCL

4.ค่ารถขนสินค้าจากท่าเรือ

4.1ส่งไปที่ บ้าน หรือ โรงงาน ของคุณ (บริษัทรถขนส่งจะคิดตามระยะทาง+น้ำหนัก)

5.ค่าธรรมเนียมศุลกากร

5.1 กรมศุลกากรจะเก็บค่าธรรมเนียมใบขนละ 200 บาท

6. ค่าบริการของชิปปิ้ง

– การบริหารจัดการตั้งแต่ก่อนสินค้าจะมาถึงประเทศไทยจนกระทั่งสินค้าไปถึงหน้าบ้านหรือโรงงานของคุณ ต้องคุยในเรื่องรายละเอียดความยากง่าย ของแต่ละประเภท ชนิด จำนวน ของสินค้าที่นำเข้า มีข้อมูลแล้วจึงสามารถแจ้งราคาได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้ามี

7.ถ้าสินค้าเป็นของต้องมีใบอนุญาติ

– จะมีค่าใบอนุญาติเช่น อย. , วัตถุอันตราย, ป.2, เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ

8.ค่าล่วงเวลา ทั้งของศุลกากรและท่าเรือ

– ศุลกากรต้องขอก่อน 16.00 ถ้าขอหลัง16.30 จะต้องเสียค่า O/T แบบน๊อกดอร์

9.ค่าคืนตู้ (ยกตู้สินค้าคืนท่าเรือ) ถ้าเป็น LCL ไม่มีส่วนนี้

– แต่ละลานค่าคืนตู้ไม่เท่ากัน และ มีหลายลานบังคับให้ต้องเสียค่าล้างตู้ด้วย 300บาท – 1,200บาท ถ้าต้องล้างแบบพิเศษก็จะแพงขึ้นอีก

10.ค่าคืนตู้ล่าช้า, ค่าล้างตู้ ถ้าเป็น LCL ไม่มีส่วนนี้

– ยิ่งคืนช้าจะมีค่าปรับมากขึ้นทวีคูณ

11.ค่ายกสินค้าลงจากรถเข้าบ้านหรือโรงงานของคุณ

– เช่นค่ารถยก, กรรมกร, เครื่องมือ และอื่นๆ

สอบถามปัญหาของการนำเข้าและส่งออกสินค้า สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

📞 033-005974

Line : @gfreight

📧Email : [email protected]

https://www.goodfreight-th.com

เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาบริการตอบปัญหาต่างๆ

#airfreight#seafreight#transports#goodfreightthailand🇹🇭

#import#export